ไวต์สตาร์ไลน์ ของ เฮอร์เบิร์ต แฮดด็อก

หลังจากรับราชการทหารเรือ แฮดด็อกได้ร่วมงานกับสายการเดินเรือไวต์สตาร์ (White Star Line) ซึ่งเขาได้บัญชาการเรือเดินสมุทรหลายลำ เช่น อาร์เอ็มเอส บริแทนนิก (RMS Britannic), อาร์เอ็มเอส เจอร์แมนิก (SS Germanic), อาร์เอ็มเอส เซดริก (RMS Cedric) และอาร์เอ็มเอส โอเชียนิก (RMS Oceanic)[1]

แฮดด็อกยังได้เป็นผู้บัญชาการคนแรกของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก (RMS Titanic) เขาเซ็นสัญญาเป็นผู้บัญชาการของเธอที่เซาแทมป์ตันเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1912 จากนั้นเดินทางไปยังเบลฟาสต์เพื่อดูแลลูกเรือที่รวมตัวกันที่นั่นสำหรับการส่งเรือไปยังเซาแทมป์ตัน ต่อมาเขามอบงานนี้ให้กับเอ็ดเวิร์ด เจ. สมิธ (Edward J. Smith) ในวันที่ 31 มีนาคม จากนั้นเขากลับไปเซาแทมป์ตันเพื่อไปบัญชาการเรือลำก่อนหน้าของสมิธ นั่นคืออาร์เอ็มเอส โอลิมปิก (RMS Olympic) ในวันที่ 3 เมษายน เขาเริ่มบัญชาการการเดินทางไป-กลับ ระหว่างเซาแทมป์ตันกับนครนิวยอร์กครั้ง 10 ของเรือโอลิมปิก และมาถึงนิวยอร์กในวันที่ 10 เมษายน ซึ่งเป็นวันที่เรือไททานิกออกจากเซาแทมป์ตันในการเดินทางเที่ยวแรก

ในช่วงเวลาที่เรือไททานิกกำลังอับปาง แฮดด็อกกำลังแล่นเรือโอลิมปิกจากนิวยอร์กไปยังเซาแธมป์ตัน ซึ่งอยู่ห่างจากไททานิกประมาณ 500 ไมล์ทะเล (930 กิโลเมตร; 580 ไมล์) ทางตะวันตกโดยทางใต้ (west by south) ในเวลา 22:50 น. ของวันที่ 14 เมษายน แฮดด็อกได้รับโทรเลขขอความช่วยเหลือของไททานิกจาก เออร์เนสต์ เจมส์ มัวร์ (Ernest James Moore) เจ้าหน้าที่ห้องวิทยุสื่อสาร หลังจากได้รับสัญญาณ CQD จากไททานิก แฮ็ดด็อคคำนวณเส้นทางใหม่และรีบมุ่งตรงไปหาเธอ นอกจากนี้เขายังสั่งให้เร่งเครื่องยนต์ของเรือเต็มกำลัง[5] เวลาประมาณ 04:00 น. ของวันที่ 15 เมษายน ขณะอยู่ห่างจากเรือไททานิกประมาณ 100 ไมล์ทะเล (190 กิโลเมตร; 120 ไมล์) แฮดด็อกได้รับข้อความจากกัปตันอาเธอร์ รอสตรอน (Authur Rostron) แห่งเรืออาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย (RMS Carpathia) ซึ่งอธิบายว่า"เรือของตนได้มาช่วยเหลือผู้รอดชีวิตของไททานิกทั้งหมดแล้ว และเรือไททานิกได้อับปางไปแล้วเมื่อเวลาประมาณ 02:20 น." รอสตรอนได้ขอให้ส่งต่อข้อความไปยังไวต์สตาร์ไลน์ และคิวนาร์ดไลน์ เขาบอกว่าเขากำลังจะกลับไปที่ท่าเรือนิวยอร์ก และแนะนำให้เรือลำอื่น ๆ กระทำเช่นเดียวกัน [5] ต่อจากนั้นห้องวิทยุสื่อสารบนเรือโอลิมปิก ได้ทำหน้าที่เป็นห้องเคลียร์สำหรับข้อความทางวิทยุ[5]

ในการไต่สวนโดยวุฒิสภาสหรัฐเกี่ยวกับการอับปางของเรือไททานิก แฮดด็อกได้รับการสัมภาษณ์โดยวิลเลียม อัลเดน สมิธ (William Alden Smith) สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1912 7 สัปดาห์หลังจากไททานิกอับปาง แฮดด็อกที่กำลังแล่นเรืออยู่ในตอนกลางคืนเกือบจะทำให้เรือโอลิมปิกเกยตื้นบนโขดหินใกล้กับแลนด์สเอนด์ โชคดีที่เจ้าหน้าที่สังเกตการณ์บนเสากระโดงเรือมองเห็นคลื่นที่ฐานของหินได้ทันเวลาและสามารถเลี่ยงได้ทัน สาเหตุเกิดจากการเดินเรือที่ผิดพลาด และแฮ็ดด็อคก็อยู่ภายใต้การสังเกตการณ์อย่างเข้มงวดสำหรับการเดินทางอีก 2–3 ครั้งถัดไปของเขา

ในวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1912 ไวต์สตาร์นำเรือโอลิมปิกออกจากการให้บริการและส่งเธอไปยังผู้สร้างของเธอที่เบลฟาสต์เพื่อแก้ไขเรือหลังจากได้รับบทเรียนจากการอับปางของเรือไททานิกเมื่อ 6 เดือนก่อน และเพิ่มความปลอดภัยของเรือ การปรับปรุงนี้ดำเนินไปจนถึงกลางปี 1913 และในขณะที่เรือโอลิมปิก จอดทิ้งไว้ แฮดด็อกก็ถูกย้ายไปบัญชาการเรือของไวต์สตาร์ลำอื่น

สงครามโลกครั้งที่ 1

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1914 แฮดด็อกก็กลับมาบัญชาการเรือโอลิมปิกอีกครั้ง และพยายามจะช่วยเหลือเรือรบเอชเอ็มเอส ออดาเซียส (HMS Audacious) หลังจากชนกับทุ่นระเบิดของเยอรมันที่นอกชายฝั่งตะวันตกของสกอตแลนด์ หลังจากการช่วยเหลือเรือหลวงออดาเซียส เรือโอลิมปิกก็ถูกปลดออกจากการให้บริการผู้โดยสารในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1914 และถูกดัดแปลงเป็นเรือลำเลียงพล [6] จากนั้นกรมทหารเรือ (Admiralty) ได้มอบหมายให้แฮดด็อกไปบัญชาการกองเรือรบปลอมซึ่งประจำการอยู่ที่เบลฟาสต์ [6] ในปี ค.ศ. 1915 ฮาโรลด์ แซนเดอร์สัน (Harold Sanderson) ประธานบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล เมอร์แคนไทล์ มารีน (International Mercantile Marine) พยายามจะมอบหมายให้แฮดด็อกไปบัญชาการเรือเอชเอ็มเอชเอส บริแทนนิก (HMHS Britannic) อย่างไรก็ตาม กรมทหารเรือปฏิเสธที่จะปลดแฮดด็อกออกจากเบลฟาสต์ และในปี ค.ศ. 1916 แฮดด็อกก็ได้ลาออกจากไวต์สตาร์ไลน์ [6] [7]

ตั้งแต่วันที่ 5–14 พฤษภาคม ค.ศ. 1917 แฮดด็อกออกเดินทางจากลิเวอร์พูลไปยังนครนิวยอร์กในฐานะผู้โดยสารบนเรือเอสเอส เซนต์พอล (SS Saint Paul) 6 เดือนก่อนที่เธอจะเกณฑ์ไปเข้าร่วมสงคราม จากรายการการเดินทางพบว่าการเดินทางของแฮดด็อกได้รับทุนจากรมทหารเรือ [8] และระบุว่าปลายทางสุดท้ายของเขาคือ นิวพอร์ตนิวส์ เวอร์จิเนีย [8] ต่อมาในปีนั้นเขาได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งที่สองโดยมาถึงนิวยอร์กในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1917 ในฐานะผู้โดยสารบนเรืออาร์เอ็มเอส เอเดรียติก (RMS Adriatic) โดยเขามีชื่ออยู่ในรายการผู้โดยสารว่า "เจ้าหน้าที่ทหารเรือ" และปลายทางสุดท้ายอยู่ที่ เมืองนอร์ฟอล์ก รัฐเวอร์จิเนีย ค่าเดินทางของเขาในการเดินทางครั้งนี้ได้รับจากไวต์สตาร์ไลน์ ซึ่งเป็นนายจ้างเก่าของเขา แต่ไม่ทราบวัตถุประสงค์ของการเดินทางทั้งสองครั้งนี้

หลังสงคราม

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง แฮดด็อกยังคงทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยกองหนุนกองหนุนกองทัพเรือต่อพระเจ้าจอร์จที่ 5 จนถึงปี 1919 ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1919 ชื่อของกัปตันเฮอร์เบิร์ต เจ. แฮดด็อก ถูกจัดให้อยู่ในรายชื่อเกษียณของกองพลสำรองราชนาวี (Royal Naval Reserve) ไม่คาดคิดว่าแฮดด็อกซึ่งมีอายุครบ 60 ปี ซึ่งเป็นอายุเกษียณบังคับสำหรับเจ้าหน้าที่ของไวต์สตาร์ จะกลับมาทำงานที่ไวท์สตาร์ไลน์อีกครั้งหลังสงคราม ในปี 1921

ใกล้เคียง

เฮอร์เบิร์ต แฮดด็อก เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ เฮอร์เบิร์ต คิตชิเนอร์ เอิร์ลคิตชิเนอร์ที่ 1 เฮอร์เบิร์ต แชปแมน เฮอร์เบิร์ต ไซมอน เฮอร์เบิร์ต เบียรี เฮอร์เบิร์ต คิลปิน เฮอร์เบิร์ต ฟอน คาราจัน